ผิดคาด GDP ไทยติดลบน้อยลงและมีโอกาสพลิกกลับเป็นบวกในปีหน้า
ผลของการเกิดโรคระบาดโควิด19 ส่งผลกระทบไปทั่วทั้งโลกเสียหายทั้งสุขภาพของประชากรและทำลายสถานะภาพทางเศรษฐกิจสำหรับในประเทศไทยธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่งประกาศตัวเลขผลผลิตมวลรวมทางเศรษฐกิจของประเทศไทยออกมาโดยมีการคาดการณ์ว่าจะติดลบสูงขึ้นกว่าที่เคยมีมา
ค่า GDP ติดลบเป็นสัญญาณที่น่ากังวล
การที่ตัวเลขผลผลิตมวลรวมทางเศรษฐกิจของประเทศติดลบ หรือตัวเลข GDP ติดลบนั้น เป็นการแสดงให้นักลงทุนนักธุรกิจเห็นได้ว่า ภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้นมีการชะลอตัว หรือหยุดชะงัก หรือไม่เป็นไปตามที่ธนาคารแห่งชาติของประเทศนั้นๆ คาดการไว้ เมื่อสถานะการณ์ด้านเศรษฐกิจมีลักษณะเช่นนี้ ย่อมส่งผลให้นักลงทุนนักธุรกิจมองหาหรือย้ายการลงทุนไปยังที่อื่นเพื่อให้การดำเนินธุรกิจของพวกเขาสามารถเติบโตและก้าวหน้าต่อไปได้ และนี่คือเหตุผลสำคัญที่เมื่อมีการประกาศตัวเลข GDP ของไทยจากธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาในตัวเลขที่ติดลบ ทำให้เกิดความกลัวว่านักลงทุนหรือนักธุรกิจที่คิดหรือกำลังจะเข้ามาลงทุนในประเทศจะหนีหายไปนั่นเอง
สถานการณ์เปลี่ยนไป เมื่อความเชื่อมั่นกลับมาค่า GDP เปลี่ยนทันที
เมื่อภาพรวมในการควบคุม กำกับ ดูและและมาตรการภาครัฐได้ผลดี ประเทศไทยในวันนี้โดยสถาบัน EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันมีการปรับค่าตัวเลข GDP ใหม่โดยจากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะติดลบหนักถึง 7.8% เปลี่ยนเป็นติดลบเพียง 6.5% ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าสภาพวะเศรษฐกิจของไทยและของโลกมีการฟื้นตัวมากขึ้น มาตรการภาครัฐในการป้องกันควบคุมโรคระบาดโควิด19 และการผลิตวัคซีนส่งผลดีต่อทุกปัจจัย และยังสามารถคาดการณ์กว่าเศรษฐกิจของไทยจะพลิกเป็น +3.8%
แนวโน้มในอนาคตกับภาพรวมเศรษฐกิจโลกปี 2564
ผู้บริหารระดับสูงของ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (จำกัด) มหาชน กล่าวว่าเศรษฐกิจโลกช่วงปลายปี 2563 จนถึงช่วงไตมาสแรกของปี 2564 ยังคงมีความกังวลเรื่องของการระบาดโรคโควิด19 รอบ 2 อยู่แต่ขณะเดียวกันการคิดค้นพัฒนาและการเข้าถึงซึ่งวัคซีนในระดับประชาชนทั่วไปของแต่ละประเทศมีมากขึ้น ทำให้ในช่วงต้นปี 2564 ระบบเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มชะลอลงในระยะสั้นๆ เท่านั้นและจะกลับมาค่อยๆ ปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติและขยายตัวอย่างช้าๆ ซึ่งสามารถเห็นได้ในช่วงไตรมาสแรกของปีโดยการปรับตัวเพิ่มขึ้นของค่า GDP ในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันออกไปตามสภาพภายในของแต่ละประเทศ
ประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรป จะมีการปรับตัวและฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ดีกว่าเพราะการเข้าถึงวัคซีนของประชาชนภายในประเทศเกิดขึ้นได้รวดเร็วกว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ เศรษฐกิจหลักแม้จะมีแนวโน้มปรับดีขึ้นโดยดูได้จากอัตราการว่างงานและการปิดกิจการที่มีค่อยๆ ลดลงจากช่วงที่ผ่านๆ มาด้วยนโนยาบและมาตรการกระตุ้นทางการคลังและนโยบายการเงินในระดับที่ผ่อนคลายต่อเนื่อง
สำหรับประเทศจีน และประเทศกลุ่มเอเยตะวันออกจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วเช่นกันเนื่องพฤติกรรมการบริโภคและฐานการผลิตประเทศเหล่านี้เน้นสินค้าส่งออกด้านไอทีและสินค้าประเภทส่งเสริมสุขภาพอนามัย สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้การฟื้นตัวเป็นไปได้เร็วกว่าประเทศกำลังัฒนาทั่วไปในจณะที่ประเทศที่รายได้ส่วนใหญ่อาศัยการท่องเที่ยว จะฟื้นตัวได้ช้ากว่าเพราะเป็นรูปแบบธุรกิจที่เผชิญความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคระบาดมากที่สุด
แนวโน้มสภาพเศรษฐกิจไทยในปี 2564
สำหรับเศรษฐกิจไทยปรากฏว่ามีการฟื้นตัวเริ่มตั้งแต่ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 แล้วด้วยระบบการเฝ้าระวังโรคระบาดที่มีประสิทธิภาพ ประกอบมาตรการทางๆ ที่ภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันดำเนินการส่งผลให้ GDP ทั้งปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวหรือติดลบน้อยกว่าที่เคยคาดไว้ ข้อมูล GDP ล่าสุดในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีอยู่ที่ -6.4% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้กว่าจะติดลบมากกว่า 7% อย่างไรก็ดีปรากฏว่าในไตรมาส 4 ข่าวความวิตกกัวลเกี่ยวกับการระบาดรอบ 2 กลับมาอีกครั้งด้วยพฤติกรรมจากคนไทยด้วยกันเอง ทำให้เกิดการชะลอลงประกอบกับทั่วโลกเริ่มมีปรากฏการณ์ของการระบาดรอบ 2 กระจายทั่วไปอีกด้วย คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2563 จะหดตัวที่ -6.5% ดีขึ้นจากคาดการณ์ครั้งก่อนที่ -7.8%
บททิ้งท้าย
ที่สุดแล้วประเทศไทยจะเป็นอย่างไร เศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหรือจะดิ่งลงเหวอีกครั้งหรือไม่ต้องรอดูเรื่องของการระบาดโควิด19 จะเกิดขึ้นในไทยและเกิดขึ้นทั่วโลกอีกครั้งหรือไม่นั่นเอง
# คนละครึ่งเฟส 2 เริ่มลงทะเบียนใหม่ 15 ธันวาคม นี้