อาทิตย์. มี.ค. 26th, 2023

มาตรการควบคุมการทำธุรกิจโดยภาครัฐในยุค 6G

คำถามที่เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจในปัจจุบันก็คือ การทำธุรกิจแต่ละประเภทต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์และการควบคุมทั้งภาครัฐและตัวบทกฎหมายซึ่งเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วในทุกๆ ประเทศทั่วโลก แต่สำหรับประเทศไทยในยุค 6G นับแต่นี้ไป ภาครัฐจะมีแนวนโยบายในการเข้าไปควบคุมเมื่อไหร่ และควบคุมอย่างไรถึงจะเหมาะสมสนับสนุนและสร้างให้ภาคธุรกิจประเภทต่างๆ เติบโตได้ดีที่สุดพร้อมๆ กับการเดินหน้าไปตามยุทธศาสตร์แห่งชาติ วันนี้เรามีเรียนรู้กัน

มาตรการควบคุมการทำธุรกิจโดยภาครัฐในยุค 6G

รัฐควรจะเข้าไปควบคุม และควบคุมอย่างไร ในวันนี้ 

หลักการพื้นฐานในการควบคุมการประกอบธุรกิจโดยรัฐเพื่อตอบคำถามทั้ง When & How ที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าไปได้นั้น สามารถทำได้แต่ทุกฝ่ายต้องยอมเรียนรู้และปรับตัวไปพร้อมๆ กัน ในเรื่องดังต่อไปนี้

รัฐต้องออกกฎระเบียบเพื่อควบคุมการประกอบธุรกิจให้มีความยืดหยุ่น สามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสถานการณ์แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช้การเปิดกว้างในการใช้ดุลพินิจของผู้มีอำนาจมากเกินไป เพราะการมอบอำนาจภาครัฐให้ผู้ใช้อำนาจสามารถอ้างอิงดุลพินิจของตัวบุคคลแต่ละคนได้ จะนำมาซึ่งการไม่เป็นธรรม หลายมาตรฐาน ต้องเป็นการออกกฎเกณฑ์ที่มีการตอบสนอง ตรวจสอบได้และทบทวนอย่างสม่ำเสมอ

มาตรการควบคุมการทำธุรกิจโดยภาครัฐในยุค 6G

การสร้าง ออกแบบ พัฒนาและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในสภาพการตลาดที่เป็นจริง นั่นหมายความว่าถ้าลองผิดลองถูกจากสถานะการจริง อย่างใช้เพียงการประเมินหรือแบบสอบถามสมมุติเท่านั้น การปฏิบัติจริงด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ จะทำให้ทราบถึงปัญหาที่แท้จริงและสามารถพัฒนาปรับปรุงได้อย่างถูกทาง

การควบคุมต้องคำนึงถึงผลลัพธ์มากกว่าวิธีการหรือรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง โดยแทนที่จะสร้างเพดานในเรื่องต่างๆ เพื่อให้นักธุรกิจทำโน้นนี่นั่น รัฐควรคำนึงและออกกฎระเบียบเพื่อควบคุมโดยเน้นผลของการกระทำมากกว่า เช่น การกำหนดเรื่องการลงทะเบียนโดรนที่เพิ่งออกบังคับใช้โดยกำหนดให้โดรนที่ใช้พลังงานมากกว่า 20 กิโลวัตต์ต้องมีใบอนุญาต ซึ่งความจริงแล้วรัฐควรออกข้อกำหนดในเรื่องของโดรนที่มีศัยภาพสูงๆ ที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์ต้องมีการจดทะเบียนมากกว่า เพราะภาครัฐเองก็รู้ว่าเทคโนโลยียิ่งนานวันยิ่งพัฒนา ในอนาคตโดรนที่ใช้พลังงานน้อยแต่ประสิทธิภาพสูงเท่าอาวุธสงครามต้องเกิดขึ้นแต่ การจำกัดไว้ที่ 20 กิโลวัตต์ไม่ได้ช่วยอะไรในการควบคุมดูแลการใช้งานโดรนเลย เป็นการออกกฎระเบียบที่ไร้ประโยชน์และต้องออกกฎเพื่อไล่หลังควบคุมไปเรื่อยๆ เสียทั้งเวลา สมองและงบประมาณ

การควบคุมกำกับควรแตกต่างกันไปตามการประเมินความเสี่ยง หมายความว่าสามารถปรับเปลี่ยนไปตามสภาพความเป็นจริงของธุรกิจแต่ละขนาด แต่ละประสิทธิภาพในรูปแบบหรือประเภทอย่างเดียวกันได้

การควบคุมกำกับดูแลที่บูรณาการทุกส่วนทั้งในระดับชาติและนานาชาตินั่นเท่ากับทำให้ผลผลิตหรือบริการที่ธุรกิจสร้างขึ้นสามารถเข้าถึงได้ทุกๆส่วนของโลกไม่ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดหรือข้อต้องห้ามใดๆ

บททิ้งท้าย

หลักการพื้นฐานที่กล่าวข้างต้นจะมีส่วนช่วยในการพัฒนากลไกทางกฎหมายในการกำกับดูแลที่ยังคงคำนึงถึงการคุ้มครองประชาชนและส่วนรวม และสามารถสร้างประเทศชาติไปในทิศทางที่พัฒนาแล้วมากขึ้นนั่นเอง

By admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *