ร้านค้าปลีกรับผลกระทบโควิด 19 ระลอก 2 ศูนย์กว่า 50 ล้าน
หลังจากเกิดการระบาด covid-19 ระลอก 2 เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2563 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันแม่ใช้เวลาเพียงไม่ถึงเดือนปรากฏว่าร้านค้าปลีกในประเทศต้องสูญเสียรายได้เกือบ 500 ล้านบาททางออกของสมาคมผู้ค้าปลีกไทยในวันนี้จึงยื่นข้อเสนอ 5 ข้อเพื่อให้รัฐช่วยในการพยุงร้านค้าปลีกของไทยให้รอดกับสภาวะดังกล่าวไปให้ได้
5 ข้อเสนอของสมาคมค้าปลีกเพื่อพยุงร้านค้าทั่วประเทศ
สำหรับทางสมาคมผู้ค้าปลีกได้ยื่นข้อเสนอเพื่อให้ทางรัฐบาลได้ช่วยทำให้ร้านค้าปลีกทั่วไทยสามารถที่จะอยู่รอดต่อไปได้โดยง่ายไขทั้ง 5 ข้อประกอบไปด้วย
ทดลองจ้างงานแบบรายชั่วโมง
ลดอัตราการว่างงานและเพิ่มอัตราการจ้างงานใหม่
เก็บภาษีกลุ่มธุรกิจ e-commerce โดยวางเงื่อนไขห้ามขายสินค้าต่ำกว่าราคาทุน
ปล่อยซอฟท์โลนเพิ่มสภาพคล่องของ sme
ลดภาษีนำเข้าสินค้าไลฟ์สไตล์แบบขั้นบันไดเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อในระดับกลางซึ่งมีอยู่จำนวนถึง 8 ล้านราย
นอกจากนี้แล้วทางสมาคมผู้ค้าปลีกไทยยังได้นำเสนอแนวคิดขอให้ทางรัฐบาลนำร้านค้าปลีกสมัยใหม่และซุปเปอร์มาเก็ตเข้าร่วมโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและเพิ่มจำนวนผู้บริโภคสำหรับร้านค้าที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นด้วย
สถิติที่เกิดขึ้นหลังเกิดวิกฤตโควิดและรอบสองในไทยกับร้านค้าปลีก
จากสถานการณ์ในช่วงปลายปี 2563 ต่อเนื่องจนถึง 2564 ปรากฏว่า ดัชนีค้าปลีกของสมาคมผู้ค้าปลีกไทยมีการลดลงจากเดิมเกือบ 3 เปอร์เซ็นต์โดยติดลบอยู่ที่ 12 เปอร์เซ็นต์ทำให้ทางธุรกิจค้าปลีกสูญเสียเงินไปประมาณ 500 ล้านบาทและคาดว่าผลกระทบจากโควิดละรอบ 2 นี้จะทำให้ดัชนีการค้าปลีกติดลบลงไปอีกไม่น้อยกว่า 8% ซึ่งส่งผลกระทบต่อร้านค้าปลีกอย่างกว้างขวางซึ่งนำไปสู่การว่างงาน รายได้ของพนักงานลดลง หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเนื่องจากกำลังการชำระหนี้ลดลง กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงด้วยเช่นกัน
ทางออกที่สมาคมผู้ค้าปลีกไทยนำเสนอเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยพยุงร้านค้าปลีก
สำหรับทางออกทั้ง 5 ประการข้างต้นเป็นเพียงส่วนประกอบเล็กๆที่จะช่วยสนับสนุนให้ร้านค้าปลีกไทยสามารถเดินหน้าต่อไปได้นอกจากนี้แล้วทางสมาคมผู้ค้าปลีกเขียนว่าทางภาครัฐต้องมีมาตรการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศโดยส่งเสริมให้กลุ่มที่มีกำลังซื้อในระดับกลางซึ่งมีมากกว่า 8 แสนรายพยายามใช้เม็ดเงินถังเข้ามาในระบบเศรษฐกิจไทยผ่านมาตรการลดภาษีนำเข้าสินค้าไลฟ์สไตล์และการลดอัตราภาษีแบบขั้นบันไดซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการเก็บอัตราภาษีสินค้าไลฟ์สไตล์สูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์และสูงที่สุดในแถบเอเชียอีกด้วย
บทสรุปของข้อนำเสนอ
ทั้งหมดที่กล่าวมาทางสมาคมผู้ค้าปลีกได้นำเสนอไปยังรัฐบาลแล้วแต่เนื่องจากอยู่ระหว่างการอยู่กทมผ่านระบบ Video Conference ทำให้ขั้นตอนแต่ละขั้นตอนที่จะพิจารณาเงื่อนไขหรือออกคำสั่งในการสนับสนุนต่างๆจะมีความล่าช้ากว่าปกติซึ่งทางสมาคมหวังว่าจะได้รับการร่วมมือและการสนับสนุนจากรัฐบาลตามข้อเสนอดังกล่าวไม่มากก็น้อย
# ห้างหรูยังอยู่ยาก เครือวันสยามจัดโปรแรงและปรับตัวสู่โลกออนไลน์