สัญญาณการลด QE เริ่มชัดเจนหลังธนาคารกลางเตรียมประชุมด่วน
การทำ QE หรือ Quantitative Easing นับว่าเป็นนโยบายการเงินเบื้องต้นที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศส่วนใหญ่ใช้ในการกระตุ้นการไหลเวียนของเงินในระบบ ผ่านการเพิ่มปริมาณเงินเข้าหรือวิถีที่นิยมมากที่สุดการเข้าซื้อสินทรัพย์ของรัฐและเอกชน เช่น พันธบัตร ตราสารหนี้ เป็นต้น ซึ่งก็จะเกิดผลกระทบในระบบเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง
ซึ่งสิ่งที่จะตามมาแน่ ๆ หลังจากการทำ QE คืออัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั่นเอง โดยปกตินั้นการทำ QE จึงมักทำในชวงที่เศรษฐกิจซบเซาเพื่อดึงให้เศรษฐกิจกลับมาอยู่ในระดับศักยภาพที่ควรจะเป็น เท่ากับว่าธนาคารกลางจะไม่สามารถรักษาระดับการทำ QE ต่อเนื่องเป็นเวลานานได้ เพราะนอกจากจะทำให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมผิดเพี้ยนแล้ว ยังต้องใช้ปริมาณเงินมาศาลที่จะอัดฉีดเข้าไปในระบบนั่นเอง โดยเจ้าแห่งการทำ QE ของโลกต้องยกให้ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกาหรือ FED เนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์เป็นที่ยอมรับระดับสากล รวมไปถึงเป็นสกุลเงินสำรองของหลายประเทศ ทำให้การเคลื่อนไหวของ FED จึงได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ ซึ่งเมื่อธนาคารกลางถึงสามประเทศกำลังประชุมร่วมกันทั้ง สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และ ออสเตรเลีย ซึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าสัญญาณการลด QE เข้าใกล้มาแล้วอย่างแน่นอน
ซึ่งแน่นอนว่าการลด QE ย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงของทิศทางการลงทุน เพราะเดิมทีนั้นการทำ QE จะทำให้ผลตอบแทนในสินทรัพย์ปลอดภัยนั้นต่ำลง เพราะปริมาณส่วนใหญ่ถูกซื้อไปหมดแล้ว ทุนส่วนใหญ่ในตลาดจึงย้ายไปยังสินทรัพย์เสี่ยงอย่าง หุ้นหรือกองทุนต่างๆ ซึ่งแน่นอนหากธนาคารกลางขายสินทรัพย์ปลอดภัย ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนก็จะสูงขึ้น เงินทุนจะย้ายกลับทันที เพราะสินทรัพย์ปลอดภัยที่ทั้งเสี่ยงต่ำและผลตอบแทนนี้ ย่อมมีที่ต้องการของนักลงทุนอยู่แล้ว ฉะนั้นการประชุมในช่วงสัปดาห์นี้ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่จะชี้ชะตาว่าปีหน้าทิศทางการลงทุนควรเป็นไปตามทิศทางใด
Credit : Matichon
Credit : Hoonsmart
Credit : ประชาชาติธุรกิจ
- กฎหมายเบื้องต้นของนิติบุคคล
- หลักในการทำธุรกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อเศรษฐกิจโลกด้วยความคิดสร้างสรรค์
- สร้างธุรกิจให้รวดเร็วคือทางรอดบนเศรษฐกิจของโลก
- เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ในปี 2021