แฟรนไชส์ธุรกิจร้านอาหาร
หลายคนอาจให้คำนิยามคำว่า “แฟรนไชส์” ที่มีความหมายว่า เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีการขยายกิจการไปหลายสาขาและสร้างรายได้ให้เกิดกำไรเป็นผลตอบแทน ซึ่งความหมายนี้ ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ถูก แต่ความหมายแท้จริงแล้วคือ กระบวนการองค์กรธุรกิจหนึ่ง ที่ได้มีการพัฒนาวิธีการและรูปแบบ ด้วยระยะเวลาสั้น–ยาว ในธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และนอกจากนี้คำว่า “แฟรนไชส์” คือ การทำนิติกรรมระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป โดยจะมีกลุ่มแรกที่เป็นคนคิดค้นรูปแบบการผลิต หรือที่เรียกง่ายๆว่า “เจ้าของต้นแบบ” กับอีกหนึ่งกลุ่ม คือผู้ที่ประกอบธุรกิจให้มีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้น โดยใช้รูปแบบของคนกลุ่มแรกในการทำธุรกิจ และนี่จึงเป็นที่มาของคำว่า “แฟรนไชส์”
ในปัจจุบันหลายคนคงเห็นว่า “ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหาร” มีการขยายกิจการกันเป็นจำนวนมากทั้งธุรกิจอาหาร ธุรกิจเครื่องดื่ม หรือแม้ธุรกิจสินค้า เพราะเป็นธุรกิจที่ได้ผลตอบแทนเป็นกำไรที่ได้ต่อเนื่องอาจจะมีขึ้น–ลงบ้าง ในความเสี่ยงของการลงทุน แต่สุดท้ายแล้วก็จะได้ผลตอบแทนเป็นกำไรเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันอีกด้วย
นอกจากนี้ “ธุรกิจแฟรนไชส์” ยังมีการแบ่งประเภทการให้สิทธิ์ในการใช้แฟรนไชน์ ออกเป็น 3 รูปแบบนั้นก็คือ
- ประเภทรูปแบบบุคคล คือ การให้บุคคลหนึ่งให้ใช้สิทธิ์ในการทำธุรกิจโดยอยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้า ตามข้อตกลงขององค์กร
- ประเภทรูปแบบพัฒนาพื้นที่ คือ การให้บุคคลหนึ่งให้ใช้สิทธิ์ในการทำธุรกิจให้อยู่ภายในขอบอาณาเขตในพื้นที่ที่ได้กำหนด หรือในพื้นที่ที่มีการครอบคลุม ของเขตนั้นๆ
- ประเภทรูปแบบตัวแทน คือ การให้บุคคลหนึ่งให้ใช้สิทธิ์ในการทำธุรกิจให้อยู่ภายในขอบเขตภูมิภาค หรือประเทศที่ได้กำหนดเอาไว้ หรือที่รู้จักในนามของตัวแทนรายย่อย และรายหลัก
และสำหรับผู้ที่จะตัดสินใจลงทุนทำธุรกิจซื้อแฟรนไชส์ในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นธุรกิจร้านอาหารธุรกิจเครี่องดื่มธุรกิจสินค้าคงต้องมีการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดคำนึงถึงผลตอบแทนในระยะเวลาของการลงทุนและที่สำคัญต้องยอมรับความเสี่ยงของการลงทุนให้ได้เพราะเนื่องจากบวกกับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันนี้แล้วเรียกว่าความเสี่ยงนั้นอาจจะมีขึ้น–ลงได้ตามระยะเวลา แต่เมื่อตัดสินใจที่จะทำธุรกิจ ก็ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้และต้องยอมรับเงื่อนไขการตกลงนี้ ถึงจะสามารถประสบความสำเร็จในอนาคตของการประกอบธุรกิจได้
รูปแบบธุรกิจ “แฟรนไชส์ร้านอาหาร” ในปัจจุบันมีหลากหลายมากมายให้เลือกลงทุน โดยจะมีการซื้อแฟรนไชส์ไปประกอบธุรกิจในราคาที่แตกต่างกันออกไปขององค์กรนั้นๆ แต่ก็จะมีแฟรนไชส์กลุ่มหนึ่งที่อยู่ในโครงการ SME ที่ขึ้นชื่อและได้รับผลตอบแทนในการลงทุนกลับมาเป็นอย่างดีนั้นก็คือ
- ไก่ทอดพันล้าน
- เล้งลูกชิ้นปลา
- ก๋วยเตี๋ยวหมู กาแล็คซี่
- เซียนสเต็ก
- Signature
- T-Bone Steack Box
- ซูโม่ ลูกชิ้นปลาระเบิด
- เซสเตอร์ กริลด์
- ชิกกี้ชิค
*เพราะการที่ได้ผลตอบแทนกลับมาในระยะยาวจึงไม่แปลกใจที่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่จะหันมาทำธุรกิจแฟรนไชส์กันเพิ่มมากขึ้น
# แฟรนไชส์เครื่องดื่มและอาหาร ที่สามารถทำได้ในตลาดนัด