เสาร์. มี.ค. 25th, 2023
แอล พี เอ็น วิสดอม คาดการกำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ ปี 64 ยังทรงตัว

แอล พี เอ็น วิสดอม คาดการกำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ ปี 64 ยังทรงตัว

แอล.พี.เอ็น วิสดอม ได้คาดการทิศทางของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 ที่กำลังจะมาถึงนี้ยังคงอยู่ในสภาวะทรงตัว ซึ่งปัจจัยมาจากหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราเสี่ยงว่างงานเพิ่มสูงขึ้น ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินเพิ่มสูงมากขึ้นด้วย ในขณะที่ดีวีลอปเม้นท์กำลังเปิดตัวโครงการใหม่ขึ้น 5 – 10% ผลมาจากสินค้าในตลาดอสังหาริมทรัพย์ลดจำนวนลง

แอล พี เอ็น วิสดอม คาดการกำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ ปี 64 ยังทรงตัว

แอล.พี.เอ็น วิสดอม เป็นบริษัทมหาชนในประเทศไทยที่ประกอบธุรกิจด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการเติบโตที่ยั่งยืนได้กล่าวถึง ทิศทางของตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2564 ว่ามีแนวโน้มการเปิดตัวโครงการเพิ่มขึ้น โดยจะมุ่งเน้นไปที่เขตกรุงเทพ และปริมณฑล อยู่ที่ 72,000 – 80,000 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 300,000  – 315,000 ล้านบาท คำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ออกมาจะเพิ่มมากขึ้น 10 – 20% จากปีที่แล้วเลยทีเดียว ในขณะที่การเปิดตัวโครงการใหม่ปี 2563 เปิดตัวออกมาที่ 65,000 หน่วย มูลค่า 285,000 – 300,000 ล้านบาท

สาเหตุของการเปิดตัวโครงการใหม่ในปี 2564 มาจากผลิตภัณฑ์ที่จะส่งขายมีแนวโน้มลดลง ผู้ซื้อมีกำลังการซื้อที่มากขึ้นสืบเนื่องมาจากผลการออกแคมเปญทางการตลาดที่ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อตั้งแต่ไตรมาส 2 จนมาถึงไตรมาส 3 ในปี 2563 ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องเปิดตัวโครงการใหม่ในปลายไตรมาส 4 เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในปี 2564 และวางแผนสร้างกำไรอย่างต่อเนื่องในอีก 2 – 3 ปีถัดไป

การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลด้วยการลงทุนของภาคเอกชน และการส่งออกมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในปี 2564 จนสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทยได้คาดการว่ามีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 3.5-4.5% ในปี 2564 เทียบกับเศรษฐกิจในปี 2563 ที่ติดลบประมาณ 7-8% แต่อย่างไรก็ตามภาคการท่องเที่ยวถือว่ายังชะลอตัวอยู่ สาเหตุมาจากมาตรการจำกัดด้านการเดินทางระหว่างประเทศในห้วงสถานการณ์ระบาดของโควิด 19 และภาระหนี้สินของครัวเรือนที่สูงถึง 90% ทำให้กำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 มีแนวโน้มทรงตัวเฉกเช่นเดียวกับปี 2563

นอกจากนี้ยังทำให้สถาบันการเงินดำรงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ สำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัยเรทราคา 2-3 ล้านบาท มีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อสูงถึง 50-60% ส่วนที่อยู่อาศัยเรทราคา 5-7 ล้านบาท มีอัตราการปฏิเสธสินเชื่ออยู่ที่ 30-40% ขณะที่กลุ่มที่อยู่อาศัยเรทราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปมีอัตราการปฏิเสธสินเชื่ออยู่ที่ 10-15% อีกทั้งมาตรการหยุดพักชำระหนี้ของผู้ประกอบการสิ้นอายุเมื่อเดือนตุลาคม ถือเป็นการบีบคั้นให้ปรับลดเงินเดือนพนักงานลง หรืออาจถึงกับปรับลดพนักงานลงเลยก็ได้ ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ทำให้ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์เกิดความไม่มั่นใจแล้วว่าในอนาคตสถานะทางการเงินของตนเองจะเป็นอย่างไร จึงต้องทำให้ชะลอการซื้อออกไปก่อน

 

# ดีวีลอปเปอร์พร้อมใจแห่ลดราราคอนโด 25% หวังระบายสต็อกออก

By admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *