โลตัสโฉมใหม่
สำหรับการเทคโอเวอร์เทสโก้โลตัสเดิมโดยเจ้าสัวซีพีของประเทศไทย ก็ได้เกิดขึ้นและมีการดำเนินธุรกิจการบริหารมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งทุกอย่างก็ราบรื่นและมีการบริหารเป็นไปได้ด้วยดี ตั้งแต่ที่บริษัท CP เริ่มเข้ามาบริหารจนถึงปัจจุบัน ล่าสุดนี้ทางโลตัสซึ่งบริหารโดยบริษัท CP ในปัจจุบัน ก็ได้เปิดตัวการสร้างมิติใหม่ให้แก่ห้างโลตัส ด้วยการรีแบรนด์ ห้างเทสโก้ โลตัส เพื่อปรับโฉมในรูปแบบเดิมๆ ให้กลายเป็น Lotus ในรูปแบบใหม่
ทั้งนี้ทางผู้บริหารโลตัสทีมใหม่ก็ได้ทำการวางกลยุทธ์และมีการปรับแผนเพื่อที่จะปรับปรุง Tesco Lotus ให้กลายเป็น lotus’s ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ เริ่มจากการปรับปรุงในเรื่องของป้ายชื่อ เพื่อที่แสดงให้เห็นถึงตัวตนและนโยบายที่โลตัสต้องการจะสื่อออกมาให้เห็นโดยป้ายของ Tesco Lotus นี้ คำว่าโลตัสจะเป็นตัวอักษรสีขาว และตัว ‘s เป็นสีเหลือง ส่วน background พื้นจะเป็นสีเขียวพาสเทลทั้งหมด
ซึ่งป้ายแบบใหม่ของ Lotus’sในครั้งนี้ แสดงออกถึงความสดใสและความเรียบง่าย โดยที่ป้ายใหม่ในครั้งนี้จะค่อยๆ ทำการเปลี่ยนทีละสาขาจนกว่าจะครบทุกสาขาทั่วประเทศ
ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับการปรับปรุง แม้จะเป็นเรื่องของป้ายชื่อของห้างโลตัสเอง ที่อาจจะเป็นการเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ แต่เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าถ้าได้ทีมบริหารที่เป็นมืออาชีพระดับซีพีมาบริหารแล้วนั้น ย่อมจะไม่ใช่แค่การปรับปรุงในเรื่องของสีสันของป้ายชื่อห้างเท่านั้น แต่ในอนาคตเชื่อว่าจะต้องมีการปรับปรุงเรื่องของการบริการต่างๆ เกิดขึ้นอย่างชัดเจนมากกว่านี้แน่นอน
ทั้งนี้จะเห็นว่าในปัจจุบันนี้ในศูนย์อาหารขอ Lotus’s เริ่มมีการขายเครื่องดื่มด้วยตู้หยอดเหรียญหรือตู้สแกนบาร์โค้ดแล้ว นี่อาจจะเป็นอีกรูปแบบและรูปโฉมหนึ่งที่ทางโลตัสกำลังจะค่อยๆ ทยอย ปรับในเรื่องของการขายสินค้าโดยเริ่มจากศูนย์อาหารก่อนเป็นต้น
ซึ่งก็จะคล้ายกับลักษณะของเซเว่นอีเลฟเว่นในรูปแบบของตู้ขายสินค้าหยอดเหรียญอัตโนมัติเช่นกันที่ในปัจจุบันนี้เราจะเห็นบางสถานที่ ได้เริ่มมีการนำตู้ขายสินค้าหยอดเหรียญของเซเว่นอีเลฟเว่นตั้งวางตามจุดต่าง ๆ ให้บริการเพื่อขายสินค้ากันมากขึ้น
บ่งบอกถึงการที่ทาง Lotus’s อาจจะค่อยๆ ปรับพฤติกรรมของผู้ที่มาใช้บริการ ด้วยการเริ่มจากจุดเล็กๆ แล้วค่อยๆ ต่อยอดพัฒนาให้ทุกคนเริ่มรู้จักที่จะใช้วิธีการจ่ายเงินด้วยการสแกนบาร์โค้ด หรือการซื้อสินค้าอัตโนมัติด้วยการจ่ายเงินผ่านตู้หยอดเหรียญหรือตู้หยอดธนบัตรมากขึ้น
ทำให้เห็นถึงมุมมองว่าในอนาคตประเทศของเราและโลกใบนี้อาจจะต้องเข้าสู่กระบวนการสังคมไร้เงินสดกันมากขึ้นต่อไปด้วยเช่นกัน
# โควิด 19 ภัยอันตรายของคนมีหนี้สิน